สัญลักษณ์




คำอธิบายระดับความรุนแรง
เพื่อพัฒนาเว็บไซต์และการให้บริการข้อมูลได้ตรงความต้องการผู้ใช้งานยิ่งขึ้น
กรุณาให้ข้อมูลแบบสำรวจความพึงพอใจและความไม่พึงพอใจประจำปี
ที่นี่


พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 18 ก ย 2560
ประเทศไทยมีฝนลดลง เว้นแต่ด้านตะวันตกของภาคเหนือ ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก
และภาคใต้ฝั่งตะวันตกยังคงมีฝนตก
สำหรับทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 15 ก ย 2560
ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสมที่อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย
สำหรับทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 15-18 ก.ย. 60

ติดตามสถานการณ์ไต้ฝุ่นทกซูรี 15 ก ย 2560
พายุไต้ฝุ่น “ทกซูรี (DOKSURI)” ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณตอนใต้ของเมืองวินห์ ประเทศเวียดนามแล้ว กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าพายุนี้จะอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศลาว และเคลื่อนผ่านบริเวณจังหวัดนครพนมของประเทศไทย หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณจังหวัดน่านในวันที่ 16 ก.ย.60 ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกเป็นบริเวณกว้างโดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่กับมีลมกระโชกแรง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 15-18 ก.ย. 60

อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาแถลงข่าวเรื่องพายุทกซูรี
อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาแถลงข่าวเรื่องพายุทกซูรี จากสำนักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา
ข้อมูลน่าสนใจ
ฤดูกาลของโลก
แหล่งพลังงานความร้อนที่สำคัญที่โลกได้รับคือดวงอาทิตย์ ซึ่งพลังงานความร้อนที่โลกได้รับนี้ ก่อให้เกิดกระบวนการต่าง ๆ ทางบรรยากาศของโลกมากมาย รวมตลอดถึงการเกิดฤดูกาลบนผิวพื้นโลกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากแกนโลกเอียงจากแนวดิ่ง 23 องศา ตลอดเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์นั่นคือ ขณะที่โลกเคลื่อนที่ไปก็เอียงไปด้วย โดยจะหันขั้วโลกเหนือและใต้เข้าหาดวงอาทิตย์สลับกัน ทำให้พลังงานความร้อน จากดวงอาทิตย์ที่ตกลงบนผิวพื้นโลกในรอบปี ในแต่ละพื้นที่ไม่เท่าเทียมกัน ขั้วโลกที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์จะได้รับพลังงานความร้อน จากดวงอาทิตย์มากกว่า จะเป็นฤดูร้อน ส่วนขั้วโลกที่หันออกจากดวงอาทิตย์ จะได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์น้อยกว่า จะเป็นฤดูหนาว อ่านต่อ