อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาชี้แจงข่าวลือ เตือนภัยพายุที่จะเข้าสู่อ่าวไทยและภาคใต้
ตามที่ได้มีการแพร่ข่าวผ่านโซเชียลมีเดีย เรื่องเตือนภัยพายุที่จะเข้าสู่อ่าวไทย และภาคใต้ โดยได้มีการนำแบบจำลองสภาพอากาศจากคอมพิวเตอร์ มาคาดการณ์การเกิดพายุหมุนเขตร้อนล่วงหน้า โดยระบุว่า จะมีพายุเกิดขึ้นในบริเวณทะเลจีนใต้แล้วจะเคลื่อนเข้าสู่อ่าวไทยและภาคใต้ แล้วพายุนี้จะมีกำลังแรงมากกว่าพายุไต้ฝุ่นเกย์ ที่เคยขึ้นบริเวณจังหวัดชุมพรในปี 2532 เสียอีก และมีผลกระทบทำให้เกิดฝนตกหนัก ลมแรง และเกิดน้ำท่วมนั้น กรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการติดตามและแจ้งเตือนภัย มีข้อแนะนำแก่ประชาชนและชี้แจงดังนี้
สื่อวีดีทัศน์ที่น่าสนใจ
พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 22 พฤษภาคม 2566
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศจีนตอนใต้และประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ แต่ยังมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 21 พฤษภาคม 2566
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัดไว้ด้วย สำหรับลมตะวันตกพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย อนึ่งในช่วงวันที่ 22 - 25 พ.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนาม ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ฝุ่นละอองในระยะนี้ : ประเทศไทยมีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์น้อยถึงปานกลาง เนื่องจากยังคงมีฝนตกในบางพืนที่ และมีการระบายอากาศดี
พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 20 พฤษภาคม 2566
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ลมตะวันตกพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัดไว้ด้วย สำหรับลมตะวันตกพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย อนึ่งในช่วงวันที่ 22 - 25 พ.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนาม ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ฝุ่นละอองในระยะนี้ : ประเทศไทยมีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์น้อยถึงปานกลาง เนื่องจากยังคงมีฝนตกในบางพืนที่ และมีการระบายอากาศดี
พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 18 พฤษภาคม 2566
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ลมตะวันตกพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนน้อย แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้นทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 17 พฤษภาคม 2566
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง