พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 27 กันยายน 2566
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านประเทศไทยตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้
สื่อวีดีทัศน์ที่น่าสนใจ
ลักษณะอากาศ 25 กันยายน 2556
ลักษณะอากาศ 25 กันยายน 2556
MOU มหาวิทยาลัยนเรศวรกับกรมอุตุนิยมวิทยา
การทำ MOU ระหว่างมหาวิทยาลัยนเรศวร กับกรมอุตุนิยมวิทยา วันที่ 8 สิงหาคม 2556
วันคล้ายวันสถาปนากรมอุตุนิยมวิทยา (23 มิถุนายน)
กรมอุตุนิยมวิทยาได้จัดพิธีวางพานพุ่มถวายสักการะ พระอนุสาวรีย์พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมอุตุนิยมวิทยา ครบรอบปีที่ 71 ในวันที่ 21 มิถุนายน 2556
สาเหตุฝนตกหนักบริเวณกรุงเทพมหานคร
ช่วงวันที่ 3-7 มิ.ย. และ 9-14 มิ.ย. 56
การเริ่มต้นและการสิ้นสุดฤดูฝนของประเทศไทย
สำนักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา