พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 6 พฤษภาคม 2568
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากลมตะวันตกพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ส่วนบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
สำหรับประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางแห่งในภาคเหนือ โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในบางพื้นที่ รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากมีลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน
สภาวะอากาศที่มีผลต่อการสะสมฝุ่นละอองในระยะนี้: การสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันบริเวณประเทศไทยตอนบน อยู่ในเกณฑ์น้อยถึงปานกลาง เนื่องจากบริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนตกบางพื้นที่
สื่อวีดีทัศน์ที่น่าสนใจ

พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565
บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกหนึ่งได้แผ่เสริมลงมาถึงประเทศจีนตอนกลางและยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงอีกเล็กน้อย ในภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ส่วนยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส และยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย
สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศมาเลเซียและช่องแคบมะละกา ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 4-6 พ.ย. 65 ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคใต้ตอนล่างจะมีกำลังแรงขึ้นประกอบกับลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ สำหรับพายุโซนร้อน “นัลแก” ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณมณฑลกวางตุ้งประเทศจีน และอ่อนกำลังเป็นพายุดีเปรสชันแล้ว และจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงและสลายตัวไปตามลำดับ โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย

พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมง บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-2 องศาเซลเซียส ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ส่วนยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-14 องศาเซลเซียส และยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย
สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่างเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซีย ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้
อนึ่ง พายุโซนร้อน “นัลแก” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีแนวโน้มจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งมณฑลกวางตุ้งประเทศจีนในวันที่ 3 พ.ย. 65 และจะอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว พายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย

พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมง บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนยังคงปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิลดลง 1-2 องศาเซลเซียส ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าว มีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ประกอบกับร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นต่อเนื่อง
กับมีฝนตกหนักบางแห่งในระยะนี้ ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้
อนึ่ง พายุโซนร้อนกำลังแรง “นัลแก” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนมีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งมณฑลกวางตุ้งประเทศจีนในช่วงวันที่ 2-3 พ.ย. 65 โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย

พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 31 ตุลาคม 2565
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมง บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนยังคงปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิลดลง 1-2 องศาเซลเซียส ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ประกอบกับร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นต่อเนื่อง
กับมีฝนตกหนักบางแห่งในระยะนี้ ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้
อนึ่ง พายุโซนร้อนกำลังแรง “นัลแก” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนมีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งมณฑลกวางตุ้งประเทศจีนในช่วงวันที่ 2-3 พ.ย. 65 โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย

พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 30 ตุลาคม 2565
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมง บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส โดยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ประกอบกับร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งในระยะนี้ ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้
อนึ่ง พายุโซนร้อนกำลังแรง “นัลแก” บริเวณตอนบนของประเทศฟิลิปปินส์ คาดว่าจะเคลื่อนตัวผ่านประเทศฟิลิปปินส์ลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบนในช่วงวันที่ 30-31 ต.ค. 2565 และมีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวเข้าปกคลุมชายฝั่งของประเทศจีนตอนใต้ในระยะต่อไป โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย