พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 5 กรกฎาคม 2568
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ภาคตะวันออกมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้มีฝนตกหนักบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณจังหวัดภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
อนึ่ง พายุโซนร้อน “ดานัส”บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ไต้หวัน ในช่วงวันที่ 7–9 กรกฎาคม 2568 โดยไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย แต่จะทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่ปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น และพายุนี้ไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย
สื่อวีดีทัศน์ที่น่าสนใจ

พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 30 พฤษภาคม 2567
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน และทะเลจีนใต้ตอนกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย
สำหรับบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
อนึ่ง พายุโซนร้อนกำลังแรง “เอวิเนียร์” มีแนวโน้มการเคลื่อนตัวไปทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่นในช่วงวันที่ 30–31 พ.ค. 67 โดยพายุนี้ไม่ส่งฝลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย และขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นควรตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางไว้ด้วย

พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 29 พฤษภาคม 2567
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ยังคงทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ในระยะนี้
สำหรับบริเวณทะเลอันดามันบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น “เอวิเนียร์” ด้านตะวันออกของเกาะไต้หวัน ประเทศจีน มีแนวโน้มการเคลื่อนตัวไปทางด้านตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นในช่วงวันที่ 30–31 พ.ค. 67 โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย

พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 28 พฤษภาคม 2567
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ยังคงทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือด้านตะวันตกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
อนึ่ง เมื่อเวลา 07.00 น. ของวันนี้ (28 พ.ค. 67) พายุดีเปรสชัน “ริมาล” ปกคลุมบริเวณประเทศบังคลาเทศ คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในระยะต่อไป ส่วนพายุไต้ฝุ่น “เอวิเนียร์” ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มการเคลื่อนตัวไปทางด้านตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นในช่วงวันที่ 30–31 พ.ค. 67 โดยพายุทั้งสองนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย

พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 27 พฤษภาคม 2567
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมด้านตะวันตกของภาคเหนือ มีกำลังอ่อนลงเป็นกำลังปานกลาง ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ในขณะที่ภาคอื่นๆมีฝนน้อย ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคเหนือระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1–2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร สำหรับอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
อนึ่ง เมื่อเวลา 07.00 น. ของวันนี้ (27 พ.ค. 67) พายุไซโคลน “ริมาล” ปกคลุมบริเวณตอนใต้ของประเทศบังคลาเทศ คาดว่าพายุนี้จะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันและหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในระยะต่อไป ส่วนพายุโซนไต้ฝุ่น “เอวิเนียร์” ด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มการเคลื่อนตัวไปทางมหาสมุทรแปซิฟิกในช่วงวันที่ 27–31 พ.ค. 67 โดยพายุทั้งสองนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย

พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 26 พฤษภาคม 2567
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมด้านตะวันตกของภาคเหนือ และภาคกลางยังคงมีกำลังค่อนข้างแรง ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1–2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร สำหรับอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
อนึ่ง พายุไซโคลน “ริมาล” บริเวณอ่าวเบงกอลตอนบน คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศบังคลาเทศในช่วงวันที่ 26–27 พ.ค. 67 ส่วนพายุโซนร้อน
“เอวิเนียร์” บริเวณตอนกลางของประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มการเคลื่อนตัวไปทางมหาสมุทรแปซิฟิกในระยะต่อไป โดยพายุทั้งสองนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย